โรงเรียนรัฐราษฎร์สงเคราะห์ เดิมชื่อโรงเรียนวัดทุ่งอ้ายโห้ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียน เริ่มเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ได้เคยย้ายสถานที่ตั้งตามวัดและหมู่บ้านของราษฎรมาแล้ว 3 ครั้ง เหตุที่ย้ายบ่อยครั้งเพราะหมู่บ้านเกิดกันดารน้ำ ประชาชนจึงย้ายบ้านเรือนไปอยู่ใกล้ริมคลองกรุงกรักพร้อมทั้งย้ายวัด และโรงเรียนตามไปด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511 ประชาชนได้จัดหาสถานที่ใหม่โรงเรียนจึงแยกตัวออกจากวัดเป็นเอกเทศ ในเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ และทางราชการได้ให้งบประมาณสร้างอาคารเรียน 150,000 บาท ประชาชนได้พร้อมใจกันก่อสร้างโรงเรียน และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ ว่าโรงเรียนรัฐราษฎร์สงเคราะห์ จัดการศึกษาภาคบังคับในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 4
ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2513 เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 7
พ.ศ. 2522 จัดการเรียนการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2531 เปิดทำการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล
พ.ศ. 2533 ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ. 2552 ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีใกล้บ้านโรงเรียนในฝันรุ่น ๓
พ.ศ. 2552 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการเรียนการสอน(Netbook) จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2554 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนศูนย์ต้นแบบเครือข่ายระดับปฐมวัย จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 พ.ศ. 2554 ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบที่ 3 ในระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
พ.ศ. 2555 ได้รับบการสนับสนุนโครงการฟาร์มขนาดเล็ก (Mini Farm Project)จาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.)

พ.ศ. 2556 ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (UniNet)เข้าร่วมโครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เพื่อรองรับการศึกษาทั้งระบบโดยติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบเคเบิลใยแก้วนําแสง (Fiber Optic Cable Network)
|